7 เทคนิค ช่วยพัฒนาความจำให้ดีขึ้น 100% (เห็นผลทันที!)

7 เทคนิคที่จะช่วยให้คุณได้จําไวขึ้น บางคน การจะจําสิ่งต่างๆ สักสิ่งหนึ่ง นับว่าเป็นเรื่องยากมากเลยครับ แต่บางคน อ่านรอบเดียวก็จําได้เลย เรามาดูเทคนิคช่วยจํากันซึ่งสามารถนําไปใช้ในชีวิตประจําวันได้หรือบางคนที่กําลังมีเตรียมตัวสอบอยู่ก็ลองนําไปปรับใช้กันดูนะครับ

1. อ่านออกเสียง

สมองของเรา แบ่งหน่วยความจําออกเป็นสองประเภทคือ การบังคับให้จํา และ การจําเพราะความเคยชิน กล่าวคือ การบังคับให้จํา ก็คือเรารู้ตัวและมีสติว่าสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ต้องจํา เช่น คุณกําลังสอบปิดปลายภาคเรียน ในขณะที่กําลังอ่านหนังสือสอบเพื่อทบทวนความรู้ สิ่งเหล่านี้ จะกลายเป็นสิ่งที่บังคับให้จําครับ แต่ในทางกลับกัน การจําโดยไม่คิดหรือจําโดยปริยายคือสิ่งที่เราทําในประจําวันอยู่ตลอดครับเช่น การอาบน้ำ กินข้าว เป็นต้น

แต่ความจําแบบไม่คิดนี่บางทีคุณทํากิจกรรมเหล่านั้นไปแล้ว คุณก็อาจกลับมาคิดว่าฉันทําไปแล้วหรือยังนะ เช่น คุณกําลังจอดรถและล็อกรถเรียบร้อยแล้ว แต่พอเวลาผ่านไปคุณกลับมาคิดทบทวนว่าตัวเองล็อกรถแล้วหรือยังนะ เพราะมันทําไปโดยไม่ได้ตั้งสติ ใช้ความเคยชินแทน นักวิทยาศาสตร์ ได้ทําการทดลองโดยแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่มครับ กลุ่มแรก ให้อ่านหนังสือเงียบๆ ห้ามออกเสียงแต่อีกกลุ่ม ให้อ่านหนังสือดังๆ แต่ปรากฏว่ากลุ่มที่สอง มีความจําดีกว่ากลุ่มที่อ่านหนังสือเงียบๆอีกดังนั้นหากคุณเป็นคนขี้ลืมหรือกําลังมีสอบในเร็วๆนี้การพูดดังๆ หรือการอ่านออกเสียง จะช่วยให้สมองคุณบังคับให้จําสิ่งเหล่านั้นได้ครับ

2. การจดโน๊ตลงในหนังสือ

การจดโน๊ตลงในหนังสือ
การจดโน๊ตลงในหนังสือ

การเขียนลงบนหนังสือหรือกระดาษ ช่วยให้เราเพิ่มความจําได้ดีขึ้น ในทางกลับกันการพิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์ ก็ช่วยให้เราทํางานได้เร็วขึ้นเช่นกันนะครับ แต่การประมวลความจําของเรา จะช้าลงนะ การเทคโน็ตจะช่วยให้เราประมวลถึงสิ่งที่เราจะเขียน หรือ ถ้าหากคุณจดผิด จะมีคําไหนที่ต้องแก้ มันก็จะช่วยประมวลว่าทําไมคุณถึงต้องแก้ไขและวิเคราะห์ถึงสิ่งที่จะเขียนลงไป ซึ่งมันเป็นสิ่งที่สําคัญมากๆ แน่นอนว่าหลายคน อาจจะคิดว่าทําไมไม่พิมพ์เอาทั้งๆที่มันสะดวกและรวดเร็วกว่า ก็เพราะว่าความสะดวกและรวดเร็ว ทําให้สมองของเราประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาที่ต้องการในโน้ตไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการขีดเขียน จะช่วยให้เราได้วิเคราะห์ข้อมูลและจําได้ดีกว่าการพิมพ์นะครับ

3. จําด้วยรูป รส กลิ่น เสียง

คุณเบื่อไหมครับที่ต้องมานั่งจําๆ อ่านๆ เพื่อให้เข้าสมอง บางทีมันก็ไม่ค่อยเวิร์คเท่าไรหรอกครับ บางทีการจดจําบางอย่างควรมีอีกหนึ่งกิจกรรมเล็กๆช่วยให้คุณนึกถึง เช่น คุณกําลังมีการพรีเซนท์งานเร็วๆนี้ แต่เนื้อหามันค่อนข้างเยอะทีเดียวคุณจะต้องใช้เวลาในการท่องจํา ซึ่งมันค่อนข้างน่าเบื่อมากๆเลยลองเพิ่มอีกหนึ่งกิจกรรมทําควบคู่ไปด้วย มันจะช่วยให้คุณเพิ่มความจําได้ง่ายขึ้น อาจจะกินแอปเปิ้ลไปด้วยพร้อมท่องจําหรืออัดเสียงตัวเองไว้เพื่อนํากลับมาฟังใหม่ ดังนั้นหากท่องจําแค่ตัวหนังสืออย่างเดียว อาจไม่เพิ่มประสิทธิภาพให้สมองจํา ควรมีกิจกรรม เช่น ทานอาหารว่างเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มการรับรส เหมือนเป็นการป้อนข้อมูลที่มีรสชาติ การฟังเสียงที่อัดไว้ รับข้อมูลผ่านเสียง หรือ แม้กระทั่งทําแผนผังเป็นหัวข้อใหญ่ๆและสามารถสรุปให้เห็นภาพได้

4. เว้นระยะการจํา

นักวิทยาศาสตร์จาก Dartmouth College กล่าวว่า สมองของเรา สามารถเก็บข้อมูลได้มากในคราวเดียวแต่เราต้องฝึกฝนเป็นระยะเวลานานมากเพื่อสร้างความทรงจําที่คงทน เราสามารถนั่งเรียนเป็นชั่วโมงๆได้ แต่พอหลังจากนั้นก็จะลืม สมองของคุณ จะเริ่มเบลอแน่นอนว่าการจดจําของสมองนั้น มักมีประสิทธิภาพมากในชั่วโมงแรกๆ ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความจําให้สมองของเรา เราควรพักเบรคก่อน คุณอาจจะพักเบรคทุกๆ 25 นาที เข้าห้องน้ำ กินขนมสักแป๊บแล้วก็กลับมาเรียนใหม่และฝึกฝนอ่านซ้ำๆ จดโน้ตเพื่อความเข้าใจตัวเองบ่อยๆเพราะทําให้เราได้ดีขึ้น

5. วอร์มสมองก่อน

เคยสงสัยไหมว่าทําไมนักกีฬาถึงต้องวอร์มร่างกายก่อนฝึกซ้อม เพราะถ้าหากคุณมาซ้อมกีฬาหนักๆเลย กล้ามเนื้อมันอาจจะฉีกขาดได้การจดจําก็เช่นกัน ก่อนที่คุณจะเริ่มอ่านหนังสือหรือทบทวนเนื้อหา คุณควรเริ่มด้วยการวอร์มสมองก่อน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงให้คุณแกะสมองเอาออกมาอุ่นหรือต้มนะครับ ลองเล่นเกมที่ต้องใช้สมองเล็กๆ น้อยๆก่อน ทําการอ่านหนังสือเช่นเกมฝึกสมองซึ่งค่อนข้างที่จะสมองของเราได้ดีในการคิดและวิเคราะห์ ผมไม่แนะนําให้ดูซีรีย์ก่อนอ่านหนังสือนะเพราะว่าอาจจะทําให้คุณเบลอๆ กับเนื้อหาที่คุณกําลังทําความเข้าใจ แต่ถ้าหากเนื้อหาของคุณเกี่ยวกับด้านภาษา ผมว่าก็โอเคนะถ้าจะฟัง Soundtrack เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจดจําด้านภาษา นับว่าเป็นไอเดียที่ดีเลยทีเดียว

6. จัดตารางอ่านหนังสือเพิ่มความหลากหลาย

จัดตารางอ่านหนังสือ
จัดตารางอ่านหนังสือ

คุณสามารถกระตุ้นความจําได้ดี ถ้าหากคุณจัดตารางการอ่านหนังสือ เช่น วันจันทร์ฝึกทําคณิตศาสตร์ วันอังคารอ่านภาษาอังกฤษ และวันพุธอ่านประวัติศาสตร์ เป็นต้น เพิ่มความหลากหลายให้การอ่านและประสิทธิภาพการจํา ทําความเข้าใจการสลับศัพท์เปลี่ยนในหลายๆหัวข้อ จะทําให้สมองของเราตื่นตัวและปรับตัวได้ หากคุณพยายามบังคับให้เรียนรู้สิ่งเดียวสมองของคุณจะให้ความสนใจน้อยลงและกลายเป็นเบื่อไปเลยซึ่งเราควรเพิ่มความไม่จําเจให้กับการอ่านของเราจัดตารางหลายๆ วิชาและลิสต์หัวข้อในแต่ละวิชาว่าจะอ่านเนื้อหาอะไรบ้างในแต่ละวัน

7. รีวิวเนื้อหาและเช็คความเข้าใจ

บ่อยครั้งที่เราพยายามจําๆอย่างเดียวโดยไม่ทําความเข้าใจกับมัน เวลาที่คุณเสียไปกับการอ่านก็สูญเปล่า ซึ่งการทําความเข้าใจ เป็นเรื่องที่สําคัญมากๆครับ เป็นพื้นฐานของการจดจําเมื่อคุณทําความเข้าใจในเนื้อหาดีๆก็ลองทําแบบฝึกหัดเพื่อทดสอบความเข้าใจรีเช็คว่าหัวข้อส่วนไหนที่ยังไม่เคลียร์เช่นคุณมีสอบคณิตศาสตร์คุณต้องทําความเข้าใจในเนื้อหาหัวข้อนั้นๆ แล้วทําแบบทดสอบบ่อยๆแก้โจทย์ปัญหาที่หลากหลายหรือพรีเซนต์งาน หากเรื่องที่คุณต้องนําเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจคุณต้องทําความเข้าใจการทําธุรกิจให้ลึกซึ้งหาข้อดีข้อเสียในหัวข้อที่คุณจะพรีเซนต์และลองซ้อมกับตัวเองหน้ากระจกบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความเข้าใจหรือเสริมหัวข้ออื่นๆเพิ่มก็ได้เช่นกันการพรีเซนต์ของคุณ มันจะออกมาดีเอง

และนี่ก็คือ 7 เทคนิคที่ช่วยให้จดจําไวขึ้นบางเทคนิค ผมอ่านไปผมก็ยังลืมเองเลยนะ สงสัยว่าผมต้องนําสักหนึ่งเทคนิคมาลองใช้ดูซะแล้วแหละแล้วใครนําเทคนิคไหนไปใช้และได้ผลก็อย่าลืมคอมเมนต์ด้านล่างเพื่อบอกกันว่าเทคนิคไหนนําไปแล้วมันได้ผลดีที่สุด