3 วิธี วางแผนการเงินที่ดี ช่วงเศรษฐกิจซบเซา ในยุคโควิด-19

การเกิดโรคระบาด โควิด 19 ที่ระบาดไปทั่วโลกนั้น ส่งผลให้เศรษฐกิจ ชะลอตัว จนถึงขั้นซบเซา และยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นดีขึ้น ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ทำให้หลายคนเกิดความเครียด วิตกกังวล ทั้งจากการเสพข่าว เกี่ยวกับการระบาด ผลข้างเคียงของวัคซีน หรือ อาจจะได้รับข่าวการสูญเสีย ของบุคคลที่ใกล้ชิด ในภาวะเช่นนี้ ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ แต่หากเจ็บป่วย อาจส่งผลถึงสุขภาพเงินของเราได้ค่ะ      

      “ในวิกกฤติ ย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ” ประโยคสุดคลาสสิก ที่ได้ยินบ่อยๆ จนคิดว่าออกจะเชยไปแล้วด้วยซ้ำ แต่อดไม่ได้ที่จะต้องมองหา สิ่งดีๆ หรือโอกาสดีๆ จริงดังประโยคข้างต้น เมื่อเรามองหา เราก็ย่อมมองเห็น ว่าในช่วงปีกว่าๆ มานี้ เราแทบไม่ได้ไปกินข้าว ที่ร้านอาหารหรือภัตตาคาร ไม่ได้เดินท่องเที่ยว  ไม่ได้ส่งเสื้อผ้า ไปร้านซักรีด ไปชอปปิ้งครั้งสุดท้ายที่ห้างสรรพสินค้าเมื่อไหร่ นานจนเกือบจำไม่ได้ ใช่แล้วค่ะ เราใช้เงินน้อยลง เราประหยัดได้ โดยไม่ต้องหักห้ามใจอะไรเลย

            หากเราไม่ใช่คนโชคร้ายที่ต้องตกงาน แน่นอนว่า ต้องสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง ของพฤติกรรม มุมคิด มุมมองของตนเอง ที่มีต่อเงินแน่นอนค่ะ และควรฉกฉวยโอกาสนี้ มาวางแผน และดูแลสุขภาพเงินกันอย่างจริงๆ จังๆ ด้วย 3 วิธี ง่ายๆ ต่อไปนี้ ค่ะ

            1. ตั้งบัญชีเงินสำรอง การที่เราจะมีสุขภาพทางการเงินที่ดี สิ่งสำคัญที่ต้องมีเป็นอับดับแรก คือ เงินเก็บ หรือเงินสำรองค่ะ จากสถานการณ์ โรคโควิด 19 ครั้งนี้ แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถคาดเดาเหตุการณ์นี้ได้ล่วงหน้า ฉนั้น การมีเงินสำรองสำหรับการใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน จะเป็นอาวุธสำคัญ ในการต่อสู้และป้องกันตนเอง เมื่อยามจำเป็น เช่น ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากเหตุที่ไม่คาดคิด

            2. ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย การจดบันทึกทุกอย่าง ในการใช้จ่าย เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน ให้เรามีสุขภาพทางการเงินที่ดี ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทำให้เรารู้ว่าเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง อะไรเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นมาก จำเป็นน้อย หรืออะไรที่ ไม่ต้องจ่าย ไม่ต้องซื้อ หรือตัดไป ก็ไม่ได้มีผลกระทบ หรือทำให้ชีวิต มีความสุขน้อยลงค่ะ สรุปว่าสิ่งที่ต้องทำคือ การทำให้รายจ่าย น้อยกว่ารายรับนั่นเองค่ะ

            3. วางแผนใช้เงินให้ PRODUCTIVE การวางแผนการใช้เงิน สำคัญพอๆ กับการเก็บออมค่ะ ต้องใช้ให้คุ้มค่า และสร้างประโยชน์แก่ตัวเอง อาจไม่ใช่การได้รับตอนจ่ายเงินเลย แต่อาจต้องใช้เวลา คือการใช้จ่ายเงินเพื่อพัฒนาความรู้ หรือทักษะ ในเรื่องต่างๆ เช่นการลงทุน การเรียนทำเบอการี่ เพื่อต่อยอดรายได้ ในอนาคต จ่ายเพื่อซื้อหนังสือ ซื้อหลักสูตรออนไลน์ ในสิ่งที่สนใจ สิ่งนี้อาจเป็นทางลัดให้เรา ไม่ต้องสุ่มสี่สุ่มห้า ให้เสียเวลาค่ะ

            สุขภาพการเงินที่ดี คือการมีเงินเก็บสำรอง มีรายได้ที่มั่นคง ไม่มีหนี้ และการมีเงินใช้ ในตลอดทุกช่วงเวลาของชีวิต นับเป็นหนึ่งในเป้าหมายของใครหลาย ๆ คน ที่ต้องการมีชีวิตที่สุขสบาย แต่คนที่จะถึงป้าหมายนั้นได้  ต้องมีเป้าหมาย และวิธีการ ที่จะดูแลสุขภาพกาย ใจ และสุขภาพเงิน ให้มีความสมดุล สอดคล้องไปด้วยกันค่ะ  

บทความ และภาพประกอบบทความ โดย Be A Boss